กริ่งจีน เป็นกริ่งที่สวยงาม แต่การตอกพระเกศา ที่ต้องใช้ความชำนาญอย่างมืออาชีพ และก็ฝีมือของช่างหลวงในวัง หรือช่างคนจีน ที่ถ่ายทอดฝีมือระดับอาจารย์สู่พระกริ่งองค์นี้ รวมทั้งลวดลายจีวรที่ตอกด้วยฝีมือ ระดับหาฝีมือคนยุคนี้ทาบอยาก แต่งพิมพ์จนดูสวยแล้วจึงเทหล่อออกมา แล้วแต่งให้ผิวพระกริ่งออกมาสวย แล้วได้ตอกโค๊ดเบอร์ ๕๙ และตอกภาษาเป็นจีน ด้านหลังองค์พระกริ่ง ไว้เป็นมงคลยิ่งว่า "ฮก" ซึ่งแปลว่าโชค วาสนา (แปลโดยคนจีนที่เก่งการอ่านภาษาจีนในตลาด) ส่วนใต้ก้นของพระกริ่งมีภาษาจีนสั้นๆว่า "เฮง" แปลว่า ร่ำรวย ร่ำรวย และมีภาษาจีนอีกคำที่สะกดยาวหน่อย และทำให้รู้ว่าพระกริ่งทำด้วยโลหะอะไร คือ ภาษาจีนคำว่า "เจ๊ก แปะ ปอ เซ็ง" เมื่ออาแป๊ท่านนั้นอ่านเสร็จแล้วมองหน้าผมและพูดว่า พระกริ่งองค์นี้ทำด้วยทองคำหรือ? ผมบอกไม่ทราบอาแป๊ท่านนั้น อ่านว่า "เจ๊ก แปะ ปอ เซ็ง" แปลว่า "หนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์" ผมกล่าวขอบคุณอาแป๊ะผมเองยังไม่แน่ใจจึงเดินไปร้านทองที่อยู่ใกล้ๆนั้น ไปให้เจ๊ร้านทองดู พอดีพบคนจีนท่านหนึ่งนั่งอยู่ก่อนแล้วในร้านทอง เจ๊คนนั้นได้แนะนำให้รู้จัก คนจีน ชื่อ เฮียริน ว่าดูพระเนื้อทองเก่ง ผมก็ยื่นพระกริ่งให้เฮียรินดู ดูสักพักใหญ่ ถามว่าเช่ามาแพงไหม ผมตอบไม่แพง และเฮียรินก็ให้แกะกรอบพระออกเพื่อขอดูทุกส่วนรวมทั้งผิวพระกริ่ง เฮียรินบอกว่าเนื้อทองคำเนื้อดีน่าจะเป็น ทองนอกเนื้อดี และช่างฝีมือนอกด้วย ซึ่งเฮียรินได้บอกภายหลังว่า ตัวเฮียเก็บพระเนื้อทองคำอยู่หลายองค์ ยังไม่สวยเท่าพระกริ่งจีนองค์นี้ ผิวทองคำแตกต่างจากพระกริ่งไทยมาก เฮียรินสะสมพระกริ่งของหลวงปู่ทิมเนื้อทองคำไว้หลายองค์ คือกริ่งชินบัญชร มาทราบประวัติเฮียรินภายหลังว่าเคยทำงานอยู่ร้านดาวทอง แผนกดูทอง ทำงานมาหลายสิบปีแล้วก็ปลดเกษียณ ขอบคุณครับเฮียแล้วต่างคนก็แยกทางกัน ผมเองยังไม่ทราบวัดมาเปิดดูในอินเตอร์เน็ตอยู่นานจึงพบของคุณ ..... อยู่จังหวัด สุรินทร์ ถามวัดก็บอกว่าวัดสุทัศน์ แต่ของคุณ ......ไม่ตอกพระเกศาและจีวรลายและถามคุณ .....ว่าเนื้อทำด้วยอะไร คุณ.....ตอบว่าเนื้อทองคำ สอบถามราคาท่านตั้งไว้ ๒๕ ล้านบาท ขณะนี้ ท่านปล่อยไปหรือยังก็ไม่รู้ไม่ได้ติดตาม ใครมีพระกริ่งองค์นี้ก็โทรมาคุยกันครับ
พระกริ่งใหญ่สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ฯ รุ่นต่างๆ พ.ศ.๒๔๔๑-๒๔๘๖ สมเด็จพระสังฆราชฯ(แพ ติสฺสเทว) วัดสุทัศน์ฯได้เจริญสมณศักดิ์ในเวลาต่อมาดังนี้ - ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่ พระเทพโมฬี วันที่ ๑๓ พ.ย. ๒๔๔๑ - ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่ พระธรรมโกษาจารย์ วันที่ ๒๗ ก.พ. ๒๔๔๓ - ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่ พระพรหมมุนี วันที่ ๑๑ พ.ย. ๒๔๕๕ - ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ วันที่ ๙ พ.ย. ๒๔๖๖ - ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่ สมเด็จพระวันรัต วันที่ ๒๔ ก.พ. ๒๔๗๒ และต่อมาเมื่อวันที่ ๑๕ พ.ย. ๒๔๘๑ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าสถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เริ่มสร้างพระกิ่งเป็นปฐม คือพระกริ่งเทพโมฬี พระกริ่งของพระองค์ ได้ตำราการสร้างสืบทอดมาจากเมืองกรุงเก่า โดยสมเด็จพระวันรัตวัดป่าแก้ว องค์พระอาจารย์ในพระองค์ ได้ทรงรจนาคัดสรรอักขระเลขยันต์ทั้งปวง ๑๐๘ ยันต์ และพระนะปถมังอันทรงคุณวิเศษอีก ๑๔ นะ การสร้างพระกริ่งวาระนี้ ได้เลือกพระกริ่งนอกเป็นพระกริ่งใหญ่ของจีนเป็นแบบ พระกริ่งนอกที่มีพุทธลักษณะสวยงามยิ่ง สร้างตามแบบโบราณ รูปพระไภษัชคุรุเป็นพระพุทธเจ้าในลัทธิเถรวาท แต่ก็อนุโลมว่าเป็นพระมหาสมณโคดม องค์พระศาสดาตามสายพุทธศาสนา ที่สำคัญคือเป็น พระกริ่งซึ่งมีบรรจุเม็ดกริ่งที่ใต้ฐาน ในพระหัตถ์จะทรงถือดอกบัว หม้อน้ำมนต์หรือคนโทมีลูกประคำ การสร้างเนื้อพระกริ่ง ได้ใช้สูตรการสร้างพระกริ่งของพระวันรัตวัดป่าแก้ว กรุงเก่า เป็นเนื้อนวโลหะอันประกอบด้วย โลหะมงคลทั้ง ๙ มาผสมเข้าด้วยกัน ถ้าองค์ใดแก่เงินมากผิวองค์พระจะกลับดำสนิท ซึ่งเป็นสูตรพิเศษของพระองค์ท่าน เนื้อนวโลหะตามสูตร เนื้อในแดงหรือวรรณะแดงอมชมพูอ่อนแล้วกลับน้ำตาล และพระกริ่งของสายวัดสุทัศน์ฯเกือบทุกองจะเจาะที่สะโพกของกริ่ง หนึ่งหรือสองรูเพื่อใส่เม็ดกริ่ง และมีบางองค์ทรงออกแบบเป็นกริ่งใบ้ก็มี ซึ่งเป็นกริ่งตันมีน้ำหนักมากกว่า กริ่งของพระองค์จะสร้างครั้งละไม่มาก สร้างตามฤกษ์และวาระสำคัญๆเท่านั้น พระองค์ท่านได้เสด็จดับขันธ์สิ้นพระชนม์เมื่อ ๒๖ พ.ศ. ๒๔๘๗ เวลา ๐๓.๐๐ น. ที่ตำหนักวัดสุทัศน์ พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ของพระองค์ เป็นพระที่หายากและมีชื่อเสียงโด่งดังทั่วแผ่นดินสยาม... พชร กรุงเก่า