พระขุนแผนวัดใหญ่ ผิวลงน้ำทอง สีรุ้งฉัพพัณรังสี กรุวัดใหญ่ชัยมงคล
เป็นพระขุนแผนที่ค้นพบโดยบังเอิญ เมื่อเปรียบเทียบพิมพ์ทรง เนื้อผิวสีได้ลงน้ำเคลือบสีเหลืองไว้ชั้นใน และทาน้ำทองเคลือบอีกชั้นด้านหน้า โดยเผาครั้งที่ ๓ ด้วยอุณหภูมิสูงประมาณ ๗๐๐-๘๐๐ องศา จากการสัมภาษณ์ อ.กริช ตระการไทย อาจารย์ผู้สอนด้านงานปั้นและเคลือบ ได้ข้อมูลว่า น้ำเคลือบที่สำหรับเขียนลงถ้วยเบญจรงค์ เป็นทองคำแท้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ โดยใช้ทองมาบดผสมกับน้ำยาเคมี เพื่อให้เหลวเป็นน้ำทอง เพื่อใช้ในการเขียน น้ำทองเป็นสีที่ทำมาจากทองคำ สิ่งที่พบในประวัติเริ่มต้นจากการสั่งมาจากเมืองจีน โดยสีน้ำทอง นิยมมากในเมืองจีนสมัยราชวงค์ชิง ในรัชสมัยของพระเจ้าคังซี (พ.ศ.๒๒๐๕-๒๒๖๖) และพระเจ้าหย่งเจิ้น (พ.ศ.๒๒๖๖- ๒๒๗๙) ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
การลงน้ำทองลงบนภาชนะ เครื่องเคลือบดินเผาได้อย่างดีสวยงามและเผาต้องใช้อุณหภูมิกว่า ๘๐๐ องศา จะทำให้ทองสุกสว่างสวยงามบนพื้นผิวถ้วย และเครื่องเคลือบเบญจรงค์ โดยจะพบในเครื่องเคลือบดินเผายุค โบราณของจีนยุคก่อน ราคาน้ำทองปัจจุบันขวดประมาณ ๑นิ้วครึ่ง ขนาดขวดเท่ากับนิ้วชี้ราคา ๒,๕๐๐บาท ในราคาปัจจุบัน (คงไม่มีใครกล้าลงทุนเพื่อจะซื้อน้ำทองซึ่งยุคทองราคาแพงมาทำอย่างแน่นอน)
ส่วนพระขุนแผนชุดนี้เ ป็นพิมพ์ขุนแผนที่เคยลงว่า เป็นขุนแผนที่อยู่ในไห ที่ลงในหมวดแนะนำไว้นานแล้ว แต่องค์นี้เคลือบลงด้วยน้ำทองอีกครั้ง โดยเผาอีกครั้งที่อุณหภูมิสูง สีเป็นสีทองและเพี้ยนสีเป็นสีรุ้ง สีฉัพพัณรังสี(อาจจะมาจากสูตรพิเศษของช่างกรุงเก่าก็เป็นได้) เนื่องจากช่างสมัยโบราญยุคกรุงเก่า การเผาเคลือบภาชนะ จะใช้เตาฟืน มีไม้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง การเผาทำให้เกิดควัน ควันไฟไปกระทบผิวภาชนะที่เผา เกิดการสันดาปเปลี่ยนจากน้ำทองที่เคลือบเป็นทองแดง ทำให้เกิดสีต่างๆ เช่นสีเขียว สีม่วง สีฟ้า สีแดงออกนาค และสีอื่นๆ ขึ้นอยู่กับโดนควันมากหรือน้อย ถ้าเป็นทองทั้งองค์ แสดงว่าโดนความร้อนที่เหมาะสม และอุณหภูมิพอเหมาะสม ในการหลอมละลายทองให้ติดผิวพระดั่งทองคำ ในภาพพระขุนแผนเคลือบที่ลงให้ชม เป็นสีรุ้งฉัพพรรณรังสี คงเป็นสิ่งมงคลยิ่งสำหรับเราชาวพุทธ เพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้า สร้างองค์แทนของพระพุทธชินราช แทนองค์พระพุทธเจ้าในศาสนาของเรา คนชาวพุทธที่สร้างมีฉัพพัณรังสี ที่เปล่งจากพระวรกายด้วยปาฏิหาริย์ บารมีของพระองค์เพื่อปราบมาร มีสีทั้งหมด ๖ สี คือ สีฟ้า สีเขียว สีแดง สีแสด สีขาว สีเหลือง จากข้อสันนิฐาน พบว่าน่าจะเป็นช่างหลวงผู้มีประสบการณ์ชั้นบรมครูที่ทั้งชำนาญ และสร้างสรรค์ชิ้นงานงามล้ำเลิศ เกินคำบรรยาย พระขุนแผนสีรุ้งฉัพพัณรังสีนี้ อ.กริช ตระการไทย อาราธนาขึ้นคอบูชา และหวงแหน แทนพระพิมพ์อื่นๆ อยู่ในขณะนี้ (อย่าเชื่อจนกว่าจะได้พบพระองค์จริงเสียก่อน?) เป็นอีกหนึ่งสีจากการเคลือบพระขุนแผนอยุธยาที่พบใหม่ ที่คนกรุงเก่ารู้เพียงบางท่านแต่เซียนรุ่นเก่าคงยอมรับยาก เช่นเดียวกับพระกรุต่างๆที่พบแล้ว เช่น ขุนแผนกรุวัดอโยธยา ขุนแผนกรุน้ำขุนแผน กรุวัดจักวรรดิ์ ขุนแผนกรุวัดกุฏีทอง ฯลฯ ที่หลายๆท่านยอมรับ และมีการประกวดไปแล้วที่กรุงเทพ ฯ เป็นต้น ถ้าพระขุนแผนพิมพ์นี้ เนื้อผิวที่ผมเรียกผิวฉัพพัณรังสี เป็นที่ยอมรับคงเป็นพระขุนแผนพิมพ์หนึ่งที่สวยที่สุดในเมืองสยามเลยทีเดียว จริงไหมครับ? สมกับช่างหลวงหรือบรมครูแห่งยุคของดีเมืองเก่าอโยธยา
และสิ่งที่อธิบายแนะนำเก็บข้อมูลเกือบขาดไป ถ้าพี่สาวที่นำพระขุนแผนชุดฉัพพัณรังสีมา ได้นำพระขุนแผนลงน้ำเคลือบทองมาอีกหนึ่งองค์ ซึ่งมีน้ำเคลือบทองที่สมบูรณ์องค์หนึ่ง จากผู้สะสมคนเดิมมาให้ศึกษา ทำให้ข้อมูลที่ผมได้ลงไปแล้วครบสมบูรณ์ตามเจตนาของผมเองหลังจากได้ทำบุญขึ้นปีใหม่ พ.ศ.๒๕๕๕ ไปแค่สองวัน ก็ได้พบพระขุนแผนเคลือบน้ำทอง สิ่งที่พบได้ลงไว้ไม่สมบูรณ์ แต่เดิมความสมบูรณ์ของเนื้อหา จึงครบสมบูรณ์ ที่พระทั้ง ๒องค์นี้ มาจากการลงน้ำเคลือบสีทอง จากการเปรียบเทียบของพระขุนแผนทั้ง ๒องค์ เทียบกันพบสีน้ำทองอยู่ตามซอกแขน และจุดลึกขององค์พระ ของพระขุนแผนฉัพพัณรังสีทุกองค์ ทุกองค์เป็นพระพิมพ์เดียว ขนาดเดียวกัน ต่างกันตรงสีน้ำทองและสีฉัพพัณรังสีเท่านั้น และพิมพ์เดียวกับพระที่ลงไว้ว่าเป็นพระขุนแผนที่อยู่ในไหเนื้อเก่า ที่ลงไว้หลายเดือนอย่างแน่นอน ของวัดใหญ่ชัยมงคล และผมเองและเพื่อน คือ อ.กริช ตระการไทย ที่ท่านเองมีความรู้ในวิชาชีพ ได้ช่วยอธิบายแนะนำ และเช็คพลังพุทธคุณ มีอย่างครบถ้วนมีเท่าขุนแผนวัดใหญ่องค์อื่นๆ ซึ่งเราทั้ง ๒คน ขออนุรักษ์พระที่ค้นพบ ไว้เพื่อผู้ศึกษารุ่นใหม่และชนรุ่นหลัง และมอบเป็น ส.ค.ส.ปี ๒๕๕๕ แก่ทุกคนที่มาพบ ในหมวดการค้นพบใหม่ ที่เปิดกรุมานานแล้วแต่ไม่มีผู้ยืนยันอย่างเรา เพื่อการอนุรักษ์จากเจตนาของผู้สร้างในอดีตกาล สู่ลูกหลานตลอดไป
|