ขันสัมฤทธิ์บาตรน้ำมนต์สมเด็จกรมปวเรศวริยาลงกรณ์และพระกริ่งปวเรศล้ำค่า ๓ องค์ ก้นบาตร รศ.๑๑๐ ผมภาคภูมิใจที่นำชื่ออันเป็นมงคลยิ่งมาตั้งชื่อ ปวเรศกรุงสยาม จากจิตส่วนลึกของผมเชื่อว่าพระกริ่งปวเรศ ที่สร้างทุกยุคทุกแบบยุคเก่าจะมีค่าและล้ำค่ายิ่งและเป็นที่รู้จักไปทั่วสารทิศเป็นที่รู้จักของผู้ศรัทธาองค์ พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า เมืองสยามซึ่งสร้างจำนวนมากความจริงก็ต้องพิสูจน์จากของมีจริง และขันบาตรน้ำมนต์ใบนี้ เป็นขันบาตรน้ำมนต์ปวเรศ สมเด็จกรมปวเรศวริยาลงกรณ์ พระองค์เจ้าฤกษ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ครบสูตรการสร้าง ที่พบขันเล็กสำหรับดื่มน้ำมนต์ที่คว่ำไว้ และเปิดออกพบพระชัยวัฒน์ที่พระพักตร์ฝังหมุดทองคำ เป็นพระชัยวัฒน์ขนาดเล็กอยู่บนบัวชั้นโลหะ มีประวัติสร้างพระชัยวัฒน์ เป็นพระประจำองค์พระมหากษัตริย์ ประกอบในพิธีสำคัญต่างๆมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตำราเดิมเป็นของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดฝ่ายอรัญวาสี(ป่าแก้ว)แห่งกรุงศรีอยุธยาและตำราได้ตกทอดมาที่สมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ศรีสคตขัติยวงค์ วัดพระเชตุพนฯ ต่อมาที่สมเด็จกรมปวเรศวริยาลงกรณ์ พระองค์เจ้าฤกษ์ วัดบวรนิเวศวิหาร จนเป็นแบบแผนการสร้างพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ ๑ ถึง รัชกาลที่ ๙ มีความศักดิ์สิทธิ์ และมีความสำคัญ โดยใช้อัญเชิญประกอบในพิธีสำคัญต่างๆ และนำไปในยามศึกสงคราม และเมื่อเปิดฝาครอบบาตรน้ำมนต์ออก พบความอลังการภายใน พบพระกริ่งองค์ปวเรศองค์เจ้าฤกษ์ทั้ง ๓ องค์ ที่ไม่เคยพบเลยในการครอบครองของผมเอง พระกริ่งทั้ง ๓ องค์ นั่งบนฐานบัวเดียวกันหันพระพักตร์ออก๓ทิศมีพระกริ่งอยู่ ๒ องค์ ที่พระพักตร์กว้างเหมือนพระกริ่งปวเรศปี ๒๔๑๗ และยังพบเหรียญปวเรศบาตรน้ำมนต์ ทั้ง ๓ เหรียญผลิตจากโรงกษาปณ์ ในวังหลวง ที่แปลกหนึ่งเหรียญ เป็นเหรียญมือมีหูเชื่อมบน ติดแน่นข้างขันภายใน ๑ เหรียญ และเหรียญปวเรศ บาตรน้ำมนต์ ๒ เหรียญ สร้างเป็นที่ระลึกในโอกาส มหาสมณุตตมาภิเสก พระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมสมเด็จพระ ปวเรศวริยาลงกรณ์ วันที่๒๗ พฤศจิกายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๐ (พ.ศ. ๒๔๓๔) ตรงกับอักษรเขียนด้วยเหล็กจารเป็นวาระเดียวกัน ทั้งหมดทุกส่วนภายในขันบาตรน้ำมนต์ ลงเทียนสีเหลืองอย่างหนา เพื่อป้องกันน้ำทำให้ขันเกิดสนิม เพื่อเหมาะกับการดื่มน้ำมนต์มหาเวชที่อยู่ในขันบาตรน้ำมนต์ พบอักขระโบราณเขียนไว้ทุกที่ทั้งภายในและภายนอกขันทั้งพานรอง ฝาขัน ขันจอกใช้ดื่ม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ ที่จะนำน้ำพุทธมนต์มาใช้พิธีมุรธาภิเษก (หมายถึง น้ำรตพระเศียรในงานราชาภิเษก หรือพิธีอื่นๆ) ด้วย โดยจัดให้มีพระสงฆ์สวดเจริญน้ำพุทธมนต์ เพื่อนำน้ำพระพุทธมนต์มาร่วมใช้ในพิธีมุรธาภิเษกเพิ่มขึ้นมาด้วย และในการพิธีนี้มีการใช้ครอบพระกริ่งในการเจริญพระพุทธมนต์เป็นครั้งแรก และเป็นแบบแผนที่มีการสร้างขันบาตรน้ำมนต์ของพระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมสมเด็จกรมปวเรศวริยาลงกรณ์ .ในรศ. ๑๑๐ อย่างครบสมบูรณ์ เพื่อใช้ในพิธีกรรมสำคัญๆ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๕สืบต่อมา สมเด็จกรมปวเรศวริยาลงกรณ์ พระองค์ยังทรงนำพระกริ่งปวเรศ และขันบาตรน้ำมนต์ประจำพระองค์ มาใช้ในพิธีสวดพระพุทธมนต์ต่างๆ ชื่อเสียงพระกริ่งปวเรศ จึงเริ่มเป็นที่รู้จักในสมัยพระองค์เป็นต้นมา และมีอักษรที่เขียนไว้เขียนไว้ที่ขันบาตรน้ำมนต์ว่า ขันบาตรน้ำมนต์ พระสังฆราช กรมสมเด็จ ปวเรศวริยาลงกรณ์ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๓๔ รัตนโกสนทร์ รศ. ๑๑๐ ผู้สร้างคือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ในขณะนั้นการสร้างพระกริ่งแทนองค์ พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า (เอี๊ยะ ซือ ฮุก) ผู้เป็นบรมครูของแพทย์ ผู้รักษาโรคทั้งหลาย เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้สร้างครบสูตร อยู่ในขันบาตรน้ำมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ พระกริ่งปวเรศทั้ง๓องค์บนฐานบัวเดียวกันหันพระพักตร์ ออก ๓ ทิศที่มีพระพักตร์ออกไม่เหมือนกันที่ยังไม่พบที่ใดเลย และเหรียญบาตรน้ำมนต์ทั้ง ๓เหรียญที่ติดข้างภายในขัน และที่บนฝาบาตรยังมีพระชัยวัฒน์พระพักตร์ฝังหมุดทองคำ องค์นำฤกษ์นั่งบนฐานบัว ส่วนพระชัยวัฒน์องค์นี้จะคล้ายพระชัยวัฒน์ของพระยาศุภกรชื่อ ระ ตะ นุ ตะ มะ ที่เป็นต้นแบบของพระชัยวัฒน์ของพระสังฆราชแพและพระชัยวัฒน์ของหลวงปู่ทิมวัดละหารไร่ ส่วนขันบาตรน้ำมนต์และทุกส่วนโลหะสัมฤทธิ์ ยังลงอักขระยันต์มหาเวชอันศักดิ์สิทธิ์ได้ครบสูตรมหาเวชยันต์ และการบูชาทำน้ำมนต์ด้วย การสวดมนต์ก็จะเกิดความ ศักดิ์สิทธิ์ของน้ำมนต์ที่จะใช้ พระคาถาหัวใจของพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาคต(เอยา) โอม เปคาซิน เปคาซิน ยังจาสักโม ยาทา สวาฮา ที่เป็นพระคาถาที่ คนจีน และ คนธิเบตสวดภาวนาแปลว่า ยิ่งครบสูตร โดยกล่าวว่า ข้าพเจ้า ขอ นอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าไภษัชยคุรุ ไวฑูรยประภาตถาคตเจ้า ผู้เป็นพระบรมครู ของบรรดาแพทย์รักษาโรคทั้งหลาย ผู้มีพระรัศมีงดงามดุจแก้วมณีไพฑูรย์อันรุ่งเรืองสว่างไสว เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คือตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง เชิญมาประสิทธิน้ำมนต์ให้ศักดิ์สิทธิ์ด้วยเทอญ ตายะถา โอมเบคาจะ เบคาจะ มะหา เบคาจะ ราชา สะมะคะเต โสหะ
พระคาถาแบบสันสกฤก โอม นะโม ภะคะวะเต ไภษัชยะ คุรุไวฑูรรยะ ปราภา ราชายะ ตะถาคะตายะ อะระหะเต สัมยักสัมพุทธายะ ตัถยะถา ไภษัชเย ไภษัชเย ไภษัชยะ สัมมุทคะเต สาวาหา (โอม มานีมานี มอฮามานี ยาซา ฮา ๓ จบ และจบด้วยคาถา “พระคาถาหัวใจของพระพุทธเจ้า๑,๐๐๐ พระองค์” โอม มานีมานี มอฮามานี ยาซาฮา ถ้าท่านไม่มีครบสูตร ก็ใช้ พระกริ่งองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ หรือเหรียญบาตรน้ำมนต์ นำอาราธนาแช่น้ำตั้งจิตอธิฐานทำน้ำมนต์ ด้วยจิตปรารถนาอันแรงกล้าของท่าน จะสัมฤทธิ์ผลศักดิ์สิทธิ์ได้แล....... ผมอธิบายบอกกล่าวของขันบาตรน้ำมนต์มหาเวท สร้างแบบครบสูตรและคำอาราธนาอธิฐาน จะสัมฤทธิ์ผล ก็ขึ้นกับจิตของท่านเอง ของฝากจาก ปวเรศกรุงสยาม
พชร กรุงเก่า บรรยาย ขอขอบพระคุณท่านผู้ใหญ่ที่เคารพยิ่ง ที่มอบมาอีกใบและ ผู้สร้างในอดีตอธิฐานจิตไว้ เพื่อชนรุ่นต่อๆมาได้เก็บรักษาสืบไป ขอบพระคุณท่านอย่างสูง ที่มอบเป็นใบที่ ๓ ที่ได้รับมาเพื่อนำเสนอและ ทุกท่านจะได้ชมขันบาตรน้ำมนต์ปวเรศขนาดใหญ่ กว่าหน้ากว้างของขันบาตรน้ำมนต์ถึง ๑๒ นิ้ว ที่สุดยอด อลังการแปลกหายากยิ่งที่มีจริง อีกหนึ่งใบ เร็วๆนี้
พชร กรุงเก่า นำเสนอ ขอแนะนำหนังสือดีที่เก็บความรู้ครบเครื่อง (ชื่อหนังสือพระกริ่งตระกูลปวเรศ) จักรพรรดิ์แห่งพระกริ่งสยาม ที่จะนำเสนอเร็วๆนี้ สั่งจองสนใจสอบถาม ธีรศักดิ์ ฉัตรทอง ๐๘๖-๑๖๑๐๕๓๕ มีจำนวนจำกัด)
ขันสัมฤทธิ์บาตรน้ำมนต์ปวเรศโบราณ รศ.๑๑๐ วัดบวรนิเวศ ที่สร้างไว้ครบสูตร เป็นขันบาตรน้ำมนต์ปวเรศ องค์เจ้าฤกษ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ครบสูตรการสร้างที่พบขันเล็กสำหรับดื่มน้ำมนต์ที่คว่ำไว้ และเปิดออกพบพระชัยวัฒน์ขนาดเล็กอยู่บนบัวโลหะ และเปิดฝาออกพบความอลังการ ภายในพบพระกริ่งองค์เจ้าฤกษ์ พิมพ์แต่ง ปีการสร้าง พ.ศ.๒๔๑๖ วาระ ๒ นั่งบนฐานบัวและล้อมรอบด้วยพระชัยอีก ๓ องค์ อยู่ ๓ ทิศ และยังพบเหรียญปวเรศบาตรน้ำมนต์ ทั้ง ๓ เหรียญผลิตจากโรงกษาปณ์ในวังหลวง ที่แปลกหนึ่งเหรียญเป็นเหรียญมือ มีหูเชื่อมบน ติดแน่นข้างขันภายใน และเหรียญปวเรศ บาตรน้ำมนต์ สร้างเป็นที่ระลึกในโอกาส มหาสมณุตตมาภิเสก พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมสมเด็จพระ ปวเรศวริยาลงกรณ์ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๐ (พ.ศ.๒๔๓๔) ตรงกับอักษรเขียนด้วยเหล็กจารเป็นวาระเดียวกันทั้งหมด ทุกส่วนภายในขันบาตรน้ำมนต์ลงเทียนอย่างหนาเพื่อป้องกันน้ำทำให้ขันเกิดสนิม เพื่อเหมาะกับการดื่มน้ำมนต์มหาเวท ที่อยู่ในขันบาตรน้ำมนต์ พบอักขระโบราณเขียนไว้ทุกที่ ทั้งภายในและภายนอกขัน ทั้งพานรอง ฝาขัน ขันจอกใช้ดื่ม และมีอักษรที่เขียนไว้ที่ขันบาตรน้ำมนต์ว่า ขันบาตรน้ำมนต์ พระสังฆราช กรมสมเด็จ ปวเรศวริยาลงกรณ์ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๓๔ รัตนโกสินทร์ รศ.๑๑๐ ผู้สร้างคือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ในขณะนั้นการสร้างระกริ่งแทนองค์ พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า (เอี๊ยะ ซือ ฮุก) ผู้เป็นบรมครู ของแพทย์ผู้รักษาโรคทั้งหลาย เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้สร้างครบสูตร อยู่ในขันบาตรน้ำมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ พระกริ่งบนฐานบัวล้อมรอบด้วยพระชัยวัฒน์บนฐานบัว ทั้ง ๓ องค์หันหน้าออก ๓ ทิศ ด้านเข่าซ้าย๑องค์ ด้านเข่าขวา ๑ องค์และด้านหลังพระกริ่ง๑ องค์ และเหรียญบาตรน้ำมนต์ทั้ง ๓เหรียญที่ติดข้างภายในขัน และที่บนฝาบาตรยังมีพระชัยวัฒน์นำฤกษ์ นั่งบนฐานบัวอีกหนึ่งองค์ ส่วนพระชัยวัฒน์องค์นี้จะคล้ายพระชัยวัฒน์ของพระยาศุภกร ชื่อ ระ ตะ นุ ตะ มะ ที่เป็นต้นแบบของพระชัยวัฒน์ของพระสังฆราชแพและพระชัยวัฒน์ของหลวงปู่ทิมวัดละหารไร่ ส่วนขันบาตรน้ำมนต์และทุกส่วนโลหะยังลงอักขระยันต์มหาเวชอันศักดิ์สิทธิ์ได้ครบสูตรมหาเวชยันต์ และการบูชาทำน้ำมนต์ด้วย การสวดมนต์ก็จะเกิดความ ศักสิทธิ์ของน้ำมนต์ พระคาถาหัวใจของพระไภษัชยุรุไวฑูรยประภาคต (เอยา) โอม เปคาซิน เปคาซิน ยังจาสักโม ยาทา สวาฮา ที่เป็นพระคาถาที่ คนจีน และ คนธิเบตสวดภาวนาแปลว่า ยิ่งครบสูตร โดยกล่าวว่า ข้าพเจ้า ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าไภษัชยคุรุ ไวฑูรยประภาตถาคตเจ้า ผู้เป็นพระบรมครู ของบรรดาแพทย์รักษาโรคทั้งหลาย ผู้มีพระรัศมีงดงามดุจแก้วมณีไพฑูรย์อันรุ่งเรืองสว่างไสว เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คือตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง เชิญมาประสิทธิน้ำมนต์ให้ศักดิ์สิทธิ์ด้วยเทอญ โอม มานีมานี มอฮามานี ยาซา ฮา ๓ จบ และจบด้วยคาถา “พระคาถาหัวใจของพระพุทธเจ้า๑,๐๐๐ พระองค์” โอม มานีมานี มอฮามานี ยาซาฮา ถ้าท่านไม่มีครบสูตร ก็ใช้ พระกริ่งองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ หรือเหรียญบาตรน้ำมนต์ นำอาราธนาแช่น้ำตั้งจิตอธิฐานทำน้ำมนต์ ด้วยจิตปรารถนาอันแรงกล้าของท่าน จะสัมฤทธิ์ผลศักดิ์สิทธิ์ได้แล... ผมอธิบายบอกกล่าวของขันบาตรน้ำมนต์มหาเวท สร้างแบบครบสูตรและคำอาราธนาอธิฐาน จะสัมฤทธิ์ผล ก็ขึ้นกับจิตของท่านเอง ขอขอบพระคุณท่านผู้ใหญ่ที่เคารพยิ่ง มอบมาและ ผู้สร้างในอดีตอธิฐานจิตไว้ เพื่อชนรุ่นต่อๆมาได้เก็บรักษาสืบไป ขอบพระคุณท่านอย่างสูงเป็นใบที่ ๒ ที่ได้รับมาเพื่อนำเสนอและ จะทุกท่านจะได้ชมขันบาตรน้ำมนต์ปวเรศและพระกริ่งที่อยู่ด้านใน ที่มีพระกริ่งถึง ๓ องค์ที่ก้นขัน เป็นใบที่๓ ที่สุดยอด อลังการแปลกหายากยิ่ง แต่จริงๆ เร็วๆนี้ ข้อควรคิด (ระหว่างพระกริ่งที่มีประวัติการสร้างจริงเราเห็นจริงกับเขาเล่าว่า เขาบอกว่าสิ่งไหนน่าศึกษากว่ากัน) พชร กรุงเก่า นำเสนอ ให้ท่านชมภายที่ถ่ายไว้โดยอธิบายบางส่วนไว้แล้ว ท่านองค์อยากทราบพระกริ่งภายในสร้างวาระไหน ของดีที่ดีกว่ายังมีอยู่?
ขันบาตรน้ำมนต์ พระสังฆราชกรมสมเด็จปวเรศวริยาลงกรณ์ เหรียญและพระกริ่งปวเรศ รศ.๑๑๐ ขันบาตรน้ำมนต์พระสังฆราช กรมสมเด็จปวเรศวริยาลงกรณ์ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๓๔ รัตนโกสินทร์ ร.ศ. ๑๑๐ เป็นขันบาตรน้ำมนต์ เพื่อการศึกษา เพื่อหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เมื่อได้พบแล้วก็ตั้งใจนำเสนอ เป็นขันบาตรน้ำมนต์ที่มีน้ำหนักมาก เมื่อเปิดฝาออกพบภายในมี พระกริ่งปวเรศพิมพ์หนึ่ง ที่นั่งบนดอกบัว ๓ ชั้น และที่ข้างในขัน พบเหรียญบาตรน้ำมนต์ ที่ติดอยู่ทั้งสี่ด้าน คือ ด้านหน้าพระกริ่ง ๑ เหรียญ ด้านหลังพระกริ่ง ๑ เหรียญ ด้านซ้ายพระกริ่ง ๑ เหรียญ และด้านขวาพระกริ่ง ๑ เหรียญ รวมทั้งหมด มีเหรียญบาตรน้ำมนต์อยู่ ๔ เหรียญ ๆ ทั้งหมดติดอยู่กับผนังภายในขัน แบบติดแน่น และผนังขันด้านใน ยังหยดเทียนชัยมงคลไว้หนา เพื่อเมื่อใส่น้ำมนต์นานๆ ภายในขันจะไม่เกิดสนิม เพื่อการดื่มกินและรักษาขันไว้ให้คงทน เป็นภูมิปัญญาชั้นสูงของผู้สร้างสู่ปัจจุบัน ภายนอกขัน มีอักขระยันต์จารโดยรอบ และยังพบอักขระยันต์ที่ฝาปิด และที่พานรอง ทั้งบนและล่างพบอักขระยันต์อยู่ทั่ว ใต้ล่างพานยังพบมีดินอุดอยู่ คล้ายในใต้พระพุทธรูปสมัยเก่า ที่ขันบาตรน้ำมนต์ภายนอก ยังมีเทียนทาไว้บางๆ เพื่อป้องกันการเกิดสนิม หรือมีการใช้ทำน้ำพระพุทธมนต์ในสมัย พระสังฆราชองค์ที่ ๘ กรมสมเด็จปวเรศวริยาลงกรณ์ ก็เป็นได้ ยังพบจารหนังสือที่อ่านได้ข้างขันบาตรน้ำมนต์ (เรียงเป็นวรรค) ดังนี้ ขันบาตรน้ำมนต์ พระสังฆราช กรมสมเด็จ ปวเรศวริยาลงกรณ์ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๓๔ รัตนโกสินทร์ รศ. ๑๑๐
เหรียญปวเรศ ฯ ร.ศ.๑๑๐ (พ.ศ.๒๔๓๔) สถานที่สร้าง วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ประวัติวัดบวรนิเวศวิหาร วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ต้นถนนตะนาว ใกล้กับวัดรังสีสุทธาวาส ต่อมาได้รวมวัดรังสีสุทธาวาสเป็น “วัดบวรนิเวศวิหาร” ชื่อวัดรังสีฯ เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้สะสมพระเครื่อง เพราะมีพระเนื้อผงขาว ขนาดหัวแม่มือหรือย่อมกว่า เป็นปางมารวิชัย มีขนาดต่างๆที่เรียกกันว่า พระวัดรังสี หรือสมเด็จวัดรังสี ปัจจุบันเป็นพระที่หายากพิมพ์หนึ่ง แต่นักสะสมมักไม่รู้จัก ว่าวัดรังสีฯอยู่ที่ใด ความจริงวัดรังษีฯก็คือที่ตั้ง ของวัดบวรนิเวศวิหาร ส่วนหนึ่งในปัจจุบันนั่นเอง เพื่อเป็นที่ระลึก ในการรวมวัดรังสีฯ และเพื่อมิให้ชื่อวัดรังสีฯสาบสูญไป ทางวัดบวรนิเวศ จึงได้ตั้งชื่อคณะหนึ่งในวัดบวรนิเวศฯว่า “คณะรังษี” วัดนี้ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างระหว่าง พ.ศ.๒๓๓๗ ถึง พ.ศ.๒๓๗๕ เดิมเรียกว่าวัดใหม่ หรือวัดบน พระพุทธรูปสำคัญของวัดมีดังนี้ ๑. พระพุทธสุวรรณเขต(หลวงพ่อโต หรือหลวงพ่อเพชร) ๒. พระพุทธชินสีห์ ๓. พระศรีศาสดา ๔. พระอัฎฐารสะ หรือพระอัฎรส ๕. พระไสยา ๖. พระไพรีพินาศ ๗. พระนิรันตราย(จำลอง) ผู้ครองวัดบวรนิเวศวิหาร มีดังนี้ คือ ๑. สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทววงค์ ต่อมาได้ทรงลาผนวช ออกไปเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๔ มีพระบรมนามาภิไธยว่า “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ๒. สมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์) ๓. สมเด็จพระมหาสมณจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ) ๔. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงค์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงค์) ๕. สมเด็จพระญาณสังวร ครองวัดเมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระสาสนโสภณ (เจริญ สุวฑฺฒโน คชวัตร) ครองวัดอยู่จนถึงปัจจุบัน
ประวัติการสร้างและผู้สร้าง เป็นเหรียญที่สร้างแจกเ มื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๓๔ (ร.ศ.๑๑๐) เนื่องในโอกาสมหาสมนุตตมาภิเศก ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ การสร้าง ได้สร้างเป็น ๒ แบบ แบบที่ว่าทั้ง ๒ แบบนั้น คือ ๑. แบบบาตรน้ำมนต์แบบหนึ่ง ๒. แบบมืออีกแบบหนึ่ง ๓. แบบมืออีกแบบที่มีห่วงเชื่อมทั้งบนและล่างเป็นแบบเดิมๆ
แบบมือ ๙ มือ จากนิ้วปริศนาธรรม โลหะที่สร้างเป็นทองแดง เป็นเหรียญขนาดใหญ่ เท่ากันกับเหรียญบาตรน้ำมนต์ ซึ่งสร้างแบบหูห้อย และแบบเหรียญแบบมือธรรมดา ตรงกลางเหรียญมีรูเจาะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยกขอบสูงทั้ง ๒ ด้าน ด้านหน้า เป็นรูปฉัตร เหนือรูที่เจาะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีรูปมือ ๙ รูป แต่ละมือยกนิ้วต่างๆกันและไม่ซ้ำกัน ด้านบน ด้านล่าง และด้านข้าง ทั้ง ๒ ข้าง เป็นหนังสือไทย แต่เขียนลวดลายแบบหนังสือจีนว่า "มหาสมณุตมาภิเศก ร.ศ.๑๑๐ เหรียญมีขนาดความยาว ๕.๓ ซ.ม. มีขนาดความกว้าง ๔.๓ ซ.ม. รูปมือและยกนิ้วเป็นปริศนาธรรม ที่ปรากฏในด้านหลังของเหรียญนั้น น่าจะมีความหมายเป็นธรรมมาธิษฐาน อย่างหนึ่งอย่างใดเป็นแน่ เพราะสมเด็จพระมหาสมณเจ้าองค์นี้ เป็นนักปราชญ์ และมีความรู้หลายศาสตร์วิชา การสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา ย่อมมีความหมาย และความหมายเหล่านั้น มิใช่ความหมายพื้นๆ หรือความหมายตื้นๆ ที่เห็นเป็นปริศนาธรรม กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวัพฤหัสบดี ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๔๓๕ ตรงกับวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง จัตวาศก จ.ศ.๑๒๕๔ เสด็จอยู่ผนวช ๖๓ ปี ๓ เดือน หรือ ๖ถ พรรษา ทรงครองอยู่วัดบวรนิเวศวิหารอยู่ ๔๑ พรรษา สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงสร้างพระกริ่ง มีนามว่า “พระกริ่งปวเรศฯ” อันมีชื่อและเป็นที่ปรารถนาของนักสะสมพระเครื่องระดับการเงินสูง ซึ่งพระองค์สร้างอยู่หลายวาระ และหลายพิมพ์ และที่พบน้อยมากคือ เหรียญปวเรศฯ แบบที่หนึ่งแบบบาตรน้ำมนต์ และแบบที่สองคือแบบมือ (๙ มือปริศนาธรรม) เป็นที่ประสงค์ของผู้แสวงหาระดับสูง ซึ่งในปัจจุบันหายาก และอยู่กับคนที่รู้คุณค่าของการสร้าง และวาระที่สำคัญ ผู้ครอบครองท่านหนึ่งกล่าวว่า ตั้งจิตอธิษฐานเอาตามความปรารถนา ได้ผลศักดิ์สิทธิ์นัก และประกอบการทำน้ำมนต์ก็ศักดิ์สิทธิ์ ตามคำอธิษฐาน เช่นนี้ แล.... พชร กรุงเก่า