พระกริ่งปวเรศรุ่นแรกพิมพ์พิเศษ (เฉลิมพล 2409)
ผมได้หยิบพระกริ่งองค์นี้ส่องพิจารณาเนื้อวัตถุโลหะ รูปองค์ ผิวของพระกริ่ง การปะก้น การตอกพระศก การแกะของพระกริ่ง และรูปร่างที่ไม่เหมือนใครของพระกริ่ง มาส่องดูอยู่หลายครั้ง เกิดความมั่นใจว่าพระกริ่งพระองค์นี้ไม่ใช่ธรรมดา ฟันธงว่าเป็นพระกริ่งปวเรศพิมพ์พิเศษ วาระพิเศษแน่นอน ได้สอบถามรุ่นพี่ๆหลายท่าน จากการพบเห็นบอกว่ามีพิมพ์อยู่จำนวนมากที่เราท่านไม่ทราบและคนยุคเก่าได้ไว้เป็นบางพิมพ์เท่านั้น และอาจมีบางพิมพ์ไม่เคยพบไม่เคยเห็น และบรรจุกรุไว้อีกมาก ซึ่งยังไม่ออกมาให้พบเห็น หรือมีแต่ไม่ยอมเปิดเผย ซึ่งผมคิดว่าน่าเสียดายของในเมืองสยามอีกมาก ซึ่งผมเองต้องยอมเปิดเผยบางอย่าง เช่นองค์พระโพธิสัตว์ยุคศรีวิชัย และองค์จตุคามยุคสุวัณณภูมิ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อคนไทยทุกๆคน และผู้ที่ได้ไปก็เก็บไว้ให้ดี ซึ่งคนยุคเก่าไม่ได้บันทึกไว้และเกือบไม่ถึง ๑ เปอร์เซ็นต์ที่เคยเห็น ยกตัวอย่างเปรียบเทียบเช่นเดียวกับพระกริ่งพิมพ์ทรงพิเศษองค์นี้ก็เข้าใจผิดว่าเป็นกริ่งเฉลิมพล ผมเองครั้งแรกก็เข้าใจผิดเช่นกัน
ลักษณะโดยรวมของพระกริ่งปวเรศพิมพ์พิเศษ วาระพิเศษ
พระกริ่งพิมพ์นี้เป็นพุทธปฎิมากรรมขนาดเล็กรูปหล่อลอยองค์ บรรจุพระกริ่งประทับนั่งขัดสมาธิเพชร (วัชราสนะ)เหนืออาสนะบัลลังก์ บัวค่ำบัวหงาย ๒ ชั้น ชั้นละ ๙ กลีบไม่มีบัวคู่หลัง พระเกศตอกเม็ดงาล้อมรอบ ตอกพระศกเหมือนพระพุทธรูป เหมือนพระกริ่งปวเรศที่ลงไว้น่าจะเป็นตัวตอกอันเดียวกันพระศกจะออกนูนขึ้นคมชัดลึก พระเมาฬีไม่ได้ตอกพระจันทร์เสี้ยวเหมือนพระกริ่งปวเรศทั่วไป พระนลาฎตอกรอยตุ๊ดตู่ ๑ เม็ด พระขนง(คิ้ว)แกะติดกัน พระเนตรเป็นขีดยาวตรง พระนาสิก (จมูก)โด่ง พระโอษฐ์บนมีจุดตรงกลางเหมือนพระกริ่งปวเรศ พ.ศ.๒๔๑๖ วาระ ๒ พระกรรณสองข้างแนบชิดกับพระเศียรยาวมาจรดพระอังสา(ไหล่) และบางองค์พระกรรณสั้นเป็นพิมพ์แต่งไม่เห็นตะเข็บทั้ง ๓ องค์ พระสังฆาฎิตรงกลางพระอุระ(หน้าอก)สั้นแบบ ๓ แฉก หม้อน้ำพระพุทธมนต์จะแต่ง และปลายฝ่าพระบาทแกะเป็นเส้นเป็นนิ้วทั้ง ๔นิ้วเด่นชัด ผ้าทิพย์จะมองเห็นเป็นคลื่นหรือเป็นลอน ๔ ลอน ประทับนั่งบนบัวคว่ำบัวหงายแบบแบนไม่กลมเหมือนพระกริ่งทั่วไป
ขนาดของพระกริ่งพิมพ์พิเศษ
ความสูงวัดจากฐานด้านล่างถึงพระเกศ ๔.๕ ซม. วัดจากกลีบบัวด้านล่างถึงปลายพระเกศ ๔.๔ ซม. ความกว้างวัดจากกลีบบัวด้านซ้ายถึงกลีบบัวด้านขวา ๒.๔ ซม. พระชาณุด้านซ้าย ถึงพระชาณุด้านขวา ๒.๒ ซม. พระกริ่งปะแผ่นโลหะเหมือนพระกริ่งปวเรศทั่วไป มีลักษณะต่างที่ความสูงและรูปลักษณ์โดยรวม และมีตอกโค๊ดลับไว้ในองค์พระกริ่งด้วย ลักษณะหนึ่งเหมือนพระกริ่งประจำรัชกาล พ.ศ.๒๓๙๖ และบางองค์ก็ไม่ได้ตอกโค๊ดลับ
เนื้อพระกริ่ง
เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ผลเนื้อออกแดงมีธาตุผสมทั้ง๓ชนิด ทองแดง เงิน และทองคำ เนื้อออกไปทางสีนาค
พระกริ่งพิมพ์พิเศษพิมพ์นี้เป็นพระกริ่งต้นแบบของพระกริ่งอีกหลายวัดที่ออกมาภายหลัง และยังมีพระกริ่งอีกหลายองค์ที่เรา ท่านยังค้นไม่พบและพบแล้วไม่รู้ เช่นพระกริ่งที่ผมเองลงไว้เช่นพระกริ่งเจ้าสัวเนื้อทองเนื้อเก้า |