พระกริ่งปวเรศก่อนปี ๒๔๐๔ ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระขนม์มายุ ได้ ๙ พรรษา จึงกำหนดรับพระสุพรรณบัฏเฉลิมพระนามตามจารีต เจ้าฟ้าในโบราณราชประเพณี กรมพระยาปวเรศฯ พระองค์ทรงจะสร้างพระกริ่งของพระองค์ขึ้นมา ก่อนพระราชประเพณีนี้ เพื่อทำ น้ำพระพุทธมนต์ ท่านผู้อ่านคงไม่เคยเห็นพระกริ่งปวเรศทรงนี้ ซึ่งผมขอนำเสนอไว้สองลักษณะ ไว้พิจารณา องค์นี้ เป็นองค์ที่ 1
พระกริ่งปวเรศก่อนปี ๒๔๐๔ ขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระขนม์มายุได้ ๙ พรรษา จึงกำหนดรับพระสุพรรณบัฏเฉลิมพระนามตามจารีต เจ้าฟ้าในโบราณราชประเพณี กรมพระยาปวเรศฯ พระองค์ทรงจะสร้างพระกริ่งของพระองค์ ขึ้นมาก่อนพระราชประเพณีนี้ เพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ ท่านผู้อ่านคงไม่เคยเห็นพระกริ่งปวเรศทรงนี้ ซึ่งผมขอนำเสนอไว้สองลักษณะไว้พิจารณา องค์ที่ 2 เป็นต้นแบบพิมพ์ทรงอุดมสมบรูณ์ มีตอกเม็ดงาด้านหลัง และผิวโดยส่วนรวมเมื่อส่องดูด้วยกล้อง จะมีลักษณะพื้นผิวคล้ายเกล็ดหิมะ
พระกริ่งปวเรศสร้างพิเศษยุคแรกต้นแบบพิมพ์สมบูรณ์พูนสุขก้นตัน เป็นต้นแบบของพิมพ์สมบูรณ์พูนสุข ที่เราเรียกกัน ทั้งสององค์ที่หยิบยกมาพิจารณา เป็นพระกริ่งหล่อโบราณเป็นการหล่อประกบทั้ง ๒ องค์ มีทั้งหล่อตันไม่มีกริ่ง และมีกริ่งแต่ใส่กริ่งที่บัวด้านขวาแล้วอุดไว้ แต่ขณะนี้เป็นกริ่งใบ้แล้วเพราะผ่านการทำน้ำพระพุทธมนต์จนนับไม่ถ้วน จนเห็นเนื้อพระกริ่งเป็นเกล็ดได้ชัดเจน เคยเอาไปเทียบกับโลหะจมน้ำสมัยอยุธยามีผิวลักษณะเดียวกัน ขอกล่าวพระกริ่งองค์แรกก่อน ดูลักษณะโดยรวมผิวพระกริ่งมีความเก่ามาก ช่างหลวงได้ทารักไว้ ขณะนี้รักหลุดเกือบหมดจนเห็นผิวชั้นในออกสีแดงเป็นสัมฤทธิ์ผลออกแดง ซึ่งทั่วไปจะผสมทอง เงิน นาคและส่วนผสมโลหะเก่ากว่า ทำให้เนื้อพระกริ่งมีลักษณะเป็นเกล็ดสลับกับรักที่ลงไว้ การหล่อแบบพิมพ์ประกบ ลักษณะของพระกริ่งมีการหล่อจากแม่พิมพ์ โดยแม่พิมพ์ที่สร้างแบบที่พระศกจะเห็นชัดที่ด้านหน้า ๗ เม็ด พระศกส่วนด้านหลังไม่เห็นพระศกเลย พิมพ์ทรงส่วนอื่นไม่คมชัดนัก จากความเก่าบวกกับการนำพระกริ่งแช่ในขันน้ำมนต์ ฐานมีบัว ๗ คู่และบัวหลัง ๑ คู่เหมือนกริ่งปวเรศทั่วไป แต่ต่างกันที่ขนาดของพระกริ่งยุคหลังจะใหญ่กว่าเล็กน้อย วัดจากใต้ฐานบัวถึงพระเกศ ๓.๙ ซ.ม. วัดจากบัวด้านล่างซ้ายถึงบัวด้านล่างขวายาว ๒.๒ ซ.ม. วัดจากพระชานุด้านซ้ายถึงพระชานุด้านขวายาว ๑.๘ ซ.ม. ใต้ฐานด้านล่างยาว ๒ ซ.ม. และกว้าง ๑.๔ ซ.ม. ก้นของพระกริ่งตันและมีลอยขุดให้เป็นก้นกะทะ ไม่ได้ตอกเม็ดงา องค์ที่ ๒. เป็นพระกริ่งต้นแบบของพิมพ์สมบูรณ์พูนสุข แต่ขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย เป็นพระกริ่งเนื้อสัมฤทธิ์แก่เงินกลับดำผิวเก่ามาก ผสมโลหะเก่าเช่นการนำเอาฐานพระพุทธรูปโบราญชำรุดนำมาผสมด้วย และเมื่อทำน้ำมนต์โดยแช่องค์พระเป็นเวลานานหลายๆเดือน หลายๆปี ผิวเกิดการสึกกร่อนจนเห็นผิวเป็นเกล็ดออกมาเห็นได้อย่างชัดเจนทุกสัดส่วนขององค์พระ เป็นพระกริ่งที่หล่อโดยเป้าประกบเม็ดพระศกตอก แต่เห็นไม่ชัดเหมือนกริ่งองค์แรกที่ยกตัวอย่าง เป็นพระกริ่งก้นตัน แต่เจาะรูที่ใกล้บัวหลังขวาและใส่เม็ดกริ่ง ขณะเขย่าไม่ดังคงเนื่องจากน้ำเข้าไปทำให้เป็นพระกริ่งใบ้ และองค์นี้ตอกเม็ดงาด้วยเป็นเม็ดงามีไส้ ผิวเก่าสวยงามเป็นประกาย มีความต่างของความสูงขององค์พระแค่ ๑ ซ.ม. ส่วนอื่นเช่นความยาวของพระชานุเท่ากัน วัดจากบัวด้านซ้าย ขวาเท่ากัน ๒.๒ ซ.ม. ใต้ฐานพระกริ่ง กว้างและยาวเท่ากับพระกริ่งองค์แรก จัดเป็นพระกริ่งที่เก่าตามยุคไม่ต่ำกว่า ๑๖๐ ปี หรือมากกว่าเล็กน้อย สร้างสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยช่างหลวงสร้างถวาย พุทธคุณอนุภาพของพลังมีครบทุกประการ ตามจิตอธิฐานของผู้บริกรรมภาวนา ใครมีไว้นับว่าเป็นบุญของท่านที่สร้างไว้และจิตแสวง พชร กรุงเก่า