พระพิมพ์ต่างๆ เปียกทองโบราณกรุงเทพทราวดีศรีอยุธยา นครแห่งทองคำ
ในสมัยเมืองทองในยุคโบราณ ขุนทับไทยทอง เมืองทอง ครองปิโล ๑๑๑๒ ขวบ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สุวัณณภูมิ ซึ่งชื่อทั้ง ๒ ชื่อและหมายถึงเมืองนครแห่งทองทั้งสิ้น ในพุทธพรรษา ๒๕ (ปีโล ๑๑๗๐ ก่อนพ.ศ.๒๐ ปี)
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.๑๘๙๓-๒๓๑๐ เป็นยุคทองอีกยุคหนึ่งทองไทยเรา และพุทธศาสนาเจริญสูงสุดเช่นกัน มีการบันทึกจากคณะทูต ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้กล่าวถึงพระศรีสรรเพชญ์ พระพุทธรูปสูงประมาณ ๔๒ ฟุต กว้างประมาณ ๑๔ ฟุต หุ้มด้วยทองคำหนา ถึง ๓ นิ้ว และตามพระอารามต่างๆ ก็มีพระพุทธรูปหุ้มด้วยทองคำอีกหลายองค์ และยังมีอีกมากที่หุ้มด้วยทอง เช่นเจดีย์ ปราสาท ช่อฟ้าใบระกา ต่างหุ้มด้วยทองคำทั้งสิ้น
ส่วนพระพุทธรูป เทวรูป พระพิมพ์ต่างๆ เครื่องราชูปโภค ล้วนแต่สร้างด้วยทองทั้งสิ้น ซึ่งเป็นทองสีอ่อนคล้ายดอกบวบ และใช้ทองเนื้อแท้เรียกทองนพคุณ หรือทองเนื้อเก้าทั้งสิ้น ส่วนพระชุดนี้เป็นพระที่เป็นพระพิมพ์ต่างๆ ที่พบจากคนเก่าแก่มาจากกรุ
พระพิมพ์ชุดนี้เป็นพระที่สวยงามถึงยุคทุกพิมพ์ เป็นพระสีทองมีคราบกรุหนามาก ทุกองค์เป็นคราบออกสีขาวขุ่น และบางองค์ออกสีน้ำตาลทั่วองค์พระ ครั้งแรกเข้าใจว่าเป็นทองคำทั้งสิ้น มาดูโดยละเอียดที่มีรอยถลอก พบข้างในเป็นชินเงิน และห่อหุ้มองค์พระไว้โดยวิธีโบราณ เรียกว่าการเปียกทอง ซึ่งมีวิธีคือการนำทองแบบสีดอกบวบ ไปละลายกับปรอท แล้วทาลงบนพระพิมพ์ที่ขึ้นรูปด้วยการหล่อ จากนั้นใช้ความร้อนไล่ปรอทออกไป เนื้อทองจะติดแน่นกับพระพิมพ์นั้นแบบหนาแน่น คงทนสวยงาม มาถึงปัจจุบันผ่านกาลเวลามาถึงสาย ทุกท่านมีพิมพ์ต่างๆสร้างด้วยพุทธศิลป์ทุกๆองค์ สาเหตุของการเปียกทองก็คือการประหยัดทองคำ เพราะจะต้องสร้างพระพิมพ์จำนวนมาก ตามจำนวนพระธรรมขันธ์คือ ๘๔,๐๐๐ และ ทองคำนอกจากทำให้พระพิมพ์ทุกพิมพ์มีความสวยงาม ยังเป็นพุทธบูชาต่อพระพุทธเจ้าด้วย ยังมีคุณค่าและพุทธคุณสูงจากธาตุทอง ทองคำต่างๆถ้าเป็นทองบริสุทธิ์ เชื่อว่าผู้ใดมีติดตัวจะเกิดสิริมงคล ป้องกันเสนียดจัญไร และภัยพิบัติทั้งหลายต่างๆนานา ถ้าได้เข้าพิธีปลุกเสกอธิษฐานจิตด้วย จะเกิดพลังพุทธานุภาพอย่างหาที่เปรียบมิได้ -พระพิมพ์ทุกองค์เนื้อเปียกทอง ล้วนล้ำค่ายังบอกถึงฝีมือของช่าง ๑๐ หมู่ สมัยอยุธยาเมืองเก่า พระเปียกทองชุดนี้จะรองมาจากพระทองคำแท้ๆเท่านั้น ทั้งเรื่องศิลปะที่ไม่เป็นรองใครของช่างอยุธยา การออกแบบพุทธศิลป์ของคนกรุงเก่าที่ยอดยิ่ง
จากพระพิมพ์ทุกองค์ ทุกท่านคิดตามผมไปด้วยไหมว่า เป็นพระพิมพ์ที่สร้างตามแบบพระพุทธรูปสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนเรืองอำนาจ เป็นไปได้ทั้งสิ้น อาจเป็นการจำลองพระพุทธรูปในวัดหลวง และในพระบรมมหาราชวังมาเป็นแบบอย่าง ในพระพิมพ์ก็เป็นได้เช่น พระศรีสรรเพชญ์ ที่ยกตัวอย่าง และพระพุทธรูปที่มีความศักสิทธิ์ ที่มีทั้งนั่งและยืน มีซุ้มเรือนแก้ว พระตรีกาย และการนั่งแบบพระโคนสมอ ที่พบแบบเนื้อดินที่สวยแปลกก็มีอยู่หลายพิมพ์ แต่พิมพ์สวยแปลก คือ พิมพ์พระร่วงซุ้มเรือนแก้ว ข้างเม็ด ที่ไม่เคยพบที่ใดเลย แต่น่าจะมีในยุคอยุธยายุคเก่าในสมัยเก่าก่อน ที่ดึงพระสำคัญๆในวัดสมัยอยุธยามาลงในพระพิมพ์ ที่บอกถึงอดีตของอยุธยาเมืองเก่ามาให้เห็นในยุคปัจจุบัน.....
พระพิมพ์ต่างๆ เปียกทองอยุธยากรุงเก่า
๑. พระร่วงยืนหลังรางปืน
๒. พระร่วงยืนซุ้มเรือนแก้วหลังกาบหมาก
๓. พระร่วงยืนข้างรัศมี
๔. พระร่วงยืนข้างเม็ด
๕. พระสามซุ้มเรือนแก้ว
๖. พระนั่งซุ้มเรือนแก้ว
๗. พระนาคปรกซุ้มเรือนแก้ว
๘. พระทรงเครื่องซุ้มเรือนแก้ว
๙. พระซุ้มเรือนแก้วฐานบัว
๑๐. พระอู่ทอง
พชร กรุงเก่า |